Last updated: 9 ก.ค. 2567 | 385 จำนวนผู้เข้าชม |
หากคุณกำลังสงสัยว่าในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สอยน้ำอย่างเป็นประจำนั้น จำเป็นด้วย หรือ ที่จะต้องมีถังบำบัดน้ำเสียโรงงาน แต่หากคุณลองนึกภาพว่า โดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน อาคารสำนักงาน โรงแรม หรือ โรงงานอุตสาหกรรม ต่างก็จะมีการใช้น้ำ และ เกิดน้ำเสียจากการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียจะช่วยให้คุณไม่ปล่อยน้ำเสียออกสู่ธรรมชาติโดยตรง นั่นหมายความว่าคุณมีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างดีนั่นเอง ดังนั้นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดเล็กขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องมีการใช้งานถังบำบัดน้ำเสียด้วยเช่นกันดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจทำไมโรงงานจึงต้องใช้ถังบำบัดน้ำเสีย และ จะเลือกถังบำบัดน้ำเสียแบบใด เพื่อให้การเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม และ สามารถใช้บำบัดน้ำเสียได้คุณภาพน้ำที่ดีที่สุด
1.มีข้อกฎหมายบังคับ
โดยที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าหมู่บ้าน อาคาร หรือ โรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีถังบำบัดน้ำเสียโรงงานตามที่กฎหมายบังคับไว้ เพื่อให้น้ำเสียต่าง ๆ ผ่านกระบวนการบำบัด จนกลายเป็นน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐาน ก่อนถูกปล่อยออกไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะซึ่งหากไม่ทำตามก็อาจจะโดนลงโทษได้
2.ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
หลายๆแหล่งน้ำในชุมชนนั้นที่เกิดน้ำเสีย โดยส่วนใหญ่จะมาจากน้ำทิ้ง สิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งถังบำบัดน้ำเสียโรงงานนั้น มีคุณสมบัติช่วยบำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดีได้ ดังนั้นถังบำบัดน้ำเสียจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากน้ำเสียนั่นเอง
3.สามารถหมุนเวียนน้ำใช้ได้
โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้นอยู่ในพื้นที่ปริมณฑล หรือ ในต่างตั้งจังหวัดซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นทำการเกษตร ดังนั้นหากคุณเป็นโรงงานที่ตั้งใกล้เคียงกับชุมชน ถังบำบัดน้ำเสียโรงงานนั้นจึงสำคัญและ จำเป็น เพื่อที่จะสามารถหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และ ปล่อยให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำในการทำการเกษตรนั่นเอง
4.ลดการน้ำท่วมที่เกิดจากการอุดตันในท่อระบายน้ำ
ในการใช้ถังบำบัดน้ำเสียโรงงานนั้นสามารถกรองสิ่งสกปรก รวมถึงตะกอนต่าง ๆ จะช่วยให้ท่อระบายน้ำมีการอุดตันที่น้อยลง เพราะของเสียต่าง ๆ ได้ถูกคัดกรองผ่านระบบบำบัดเรียบร้อยแล้ว
ส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งถังบำบัดน้ำเสียโรงงานนั้นมีหลากหลายแบบทั้งแบบรวมน้ำเสียทั้งหมด หรือ น้ำเสียเฉพาะน้ำจากส้วม ถังบำบัดน้ำเสียโรงงานโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศ และ ถังบำบัดน้ำเสียไม่เติมอากาศ ซึ่งความแตกต่างของถังบำบัดทั้ง 2 ประเภทนี้คือ ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ จะบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยจุลินทรีย์ในน้ำที่ต้องการออกซิเจนเป็นตัวบำบัด และ สามารถย่อยสลายได้เร็วกว่าถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศประมาณ 5-10 เท่า ขณะเดียวกันถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ หรือ ถังแซท ก็เหมาะกับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการใช้เฉพาะงาน เช่น น้ำจากส้วมนั้นเอง โดยหากเป็นการเลือกขนาดถังบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม ควรเลือกใช้ถังบำบัดในขนาดที่เหมาะสมกับปริมาตรการใช้งานจริง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการบำบัด อีกทั้งควรเลือกถังบำบัดที่มีคุณภาพดี เช่น ถังบําบัดน้ำเสีย 1,000 ลิตร แต่ละแบบราคาอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการใช้งานถังบำบัดน้ำเสียทุกวัน เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จึงควรเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียโรงงานที่ทำมาจากวัสดุที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงทนทาน และ มีอายุการใช้งานยาวนาน เพื่อให้สามารถบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานได้อย่างไร้อุปสรรคนั้นเอง
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นหลายๆคนคงทราบแล้วว่าทำไมโรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องมีถังบำบัดน้ำเสียโรงงานเนื่องจากช่วยให้แหล่งน้ำในชุมชนโดยรอบไม่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำอีกทั้งยังไม่ทำผิดต่อข้อกฎหมายว่าด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งจึงควรมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้อยู่กับชุมชนโดยรอบได้อย่างมีความสุข ดังนั้นหากต้องการถังบำบัดน้ำเสียโรงงานที่มีคุณภาพ และ ได้มาตรฐานนั้นเราขอแนะนำ บริษัท เอ็ม-เทค วอเตอร์โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องถังเก็บน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย และ งานระบบบำบัดน้ำเสีย ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ให้บริการด้านการออกแบบและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ ผลิตและจำหน่ายถังเก็บน้ำ ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีผลงานมากกว่า 100 โครงการทั่วประเทศไทย กลุ่มลูกค้าของเรา มีทั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน และ โครงการภาครัฐอีกมากมาย เรามุ่งมั่นเพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการงานด้านระบบบำบัดน้ำเสียแบบครบวงจรนั้นเอง
ติดต่อสอบถาม
บริษัท เอ็ม-เทค วอเตอร์โซลูชั่น จำกัด
268/13 ถ.เศรฐกิจ ต.อ้อมน้อย อ.อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร
16 มิ.ย. 2565
5 ส.ค. 2567
9 มิ.ย. 2565